สารจากคณบดีปีการศึกษา2563
 วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
มีประวัติความเป็นมาจากวิสัยทัศน์และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของท่าน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ในรูปแบบของ RSU Model “Innovative Startup Entrepreneurship” By Integrative and Regenerative Competency Based Technology Transformation เน้นพัฒนาสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ก้าวนำกระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลก”
ดังนั้นในปีการศึกษา2545 มหาวิทยาลัยรังสิตจึงได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สังกัดภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ต่อมาในปีการศึกษา 2555 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรเป็นหลักสูตรวิศวกรรมศาสรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ และยังสังกัดอยู่ในภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ในแง่การพัฒนาทางหลักสูตรฯได้ทำการพัฒนาแบบรอบด้านในทุกมิติของการจัดการศึกษา การวิจัยและพัฒนา การให้บริการทางวิชาการ รวมทั้งทางด้านการบริหารจัดการ จนกระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม พศ.2559 ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ยกระดับจากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ขึ้นเป็นคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ และ ในระยะเวลา2 ปีถัดมาคือในวันที่16 กรกฎาคม 2561 มหาวิทยาลัยรังสิตได้มีคำสั่งประกาศยกระดับจากคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ จากตั้งแต่ปีการศึกษา2545 เป็นต้นมาหลักสูตรฯได้ทำการผลิตบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ออกไปรับใช้สังคม จำนวนประมาณมากกว่า 450คน ในจำนวนนี้ได้ผลิตบุคลากรให้กับกระทรวงสาธารณสุข สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 25 คน บัณฑิตที่จบออกไปจากมหาวิทยาลัยรังสิตได้ออกไปเป็นวิศวกรชีวการแพทย์ให้กับประเทศไทยได้เติมเต็มการพัฒนาวงการสาธารณสุขจนนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนชาวไทยจนได้มาตรฐานในระดับสากลรวมทั้งมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของเอเชียของประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย ในโลกปัจจุบันที่เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านจากศตวรรษที่20ไปสู่ศตวรรษที่21นั้นไม่ใช่โลกใบเดิมที่เป็นLinear World ทุกอย่างมีเรื่องของความไม่แน่นอนแฝงอยู่เสมอยากต่อการทำนายรวมทั้งยากต่อการมองแนวโน้มในอนาคต โลกยุคใหม่นี้เป็นโลกที่เต็มไปด้วยชุดของภัยคุกคามชุดใหม่ชุดของข้อจำกัดชุดใหม่ชุดของกฎเกณฑ์ชุดใหม่รวมทั้งชุดของโอกาสชุดใหม่และชุดของความคาดหวังชุดใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 (COVID – 19)ที่มีการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์และแพลตฟอร์มในทุกมิติโดยที่ไม่สามารถนำเอาแพลตฟอร์มแบบเก่าของโลกมาใช้ได้อีกต่อไป ดังนั้นภารกิจที่ทางวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือการวางอนาคตใหม่ให้กับบัณฑิตทุกคนโดยการทำให้ “โลกของการเรียนรู้ โลกของการทำงานและโลกแห่งอนาคต เป็นโลกเดียวกัน” สำหรับใช้ในการแปลงเป็นขีดความสามารถชุดใหม่ เพื่อตอบโจทย์และรองรับกับมิติต่างๆของแพลตฟอร์มของโลกในศตวรรษที่21 ในหลากหลายมิติของโลกในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความสลับซับซ้อนให้ครบถ้วน สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านตั้งอยู่บนปรัชญาที่ว่า “นวัตกรรม จิตวิญญาณผู้ประกอบการ และ ความเป็นสากล ชนะทุกสิ่ง และนำมาซึ่งความสำเร็จ” โดยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ในทุกๆด้านเพื่อก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมของอาเซียน” และมีปณิธานในการ”มุ่งผลิตวิศวกรชีวการแพทย์สากลที่มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการเพื่อเติมเต็มระบบการดูแลรักษาสุขภาพให้กับสังคม”ที่อัตลักษณ์ที่สำคัญคือ “ประพฤติอย่างมีคุณธรรม คิดอย่างมีนวัตกรรม ทำด้วยจิตวิญญาณผู้ประกอบการ” เพื่อตอบสนองและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมาแล้วข้างต้นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้จัดทำและวางยุทธศาสตร์เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์สู่เป้าหมายจำนวน 3 ด้านคือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับผู้ประกอบการจริง
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วย การจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์(Outcome Based Education)ด้วยการทลายกำแพงรายวิชาและทำการบูรณาการองค์ความรู้ในทุกด้านที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน มีจุดมุ่งหมายคือการผลิตบัณฑิตที่มีวิญญาณการเป็นเจ้าของหรือผู้ประกอบการ เน้นการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ที่สำคัญคือจะผลิตบัณฑิตที่เป็นวิศวกรรมชีวการแพทย์สากล(Global Biomedical Engineers)ที่สามารถทำงานได้ทั่วโลก มีความมุ่งมั่นในการพัฒนา และการบริหารจัดการเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนชาวไทยภายใต้คุณธรรมและจริยธรรม
ระบบการศึกษาทั้งหมดต้องมีความยืดหยุ่น ตอบสนองการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเนื้อหาวิชาและการจัดการศึกษาต้องสอดคล้องกับผู้ประกอบการจริง (Real Sector Driver) และ ปลูกฝัง แนวคิด และทัศนคติในเรื่องของทักษะหรือจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Spirit)นอกจากนั้นในยุทธศาสตร์นี้ จะมุ่งขับเคลื่อนการผลิตบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่มีทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ ที่เพรียกพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ หรือการเป็นผู้ประกอบการอิสระ ซึ่งสอดคล้องกับมิติของเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่ที่จะถูกขับเคลื่อนด้วยผู้ประกอบการ ดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในหลายประเทศในย่านเอเซียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เป็นวิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมแห่งอาเซียน
ยุทธศาสตร์นี้มุ่งพัฒนาศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้จำนวน 3 ศูนย์หลักได้แก่
1. ศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้ด้านเครื่องมือแพทย์อัฉริยะ( Smart Medical Device Research Development &Learning Center) ที่ประกอบด้วยอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งทางการแพทย์( Medical IoT) ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์( Medical Artificial Intelligence (AI)) และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotic)
2. ศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมฟื้นฟู(Rehabilitation Engineering Research Development &Learning Center) ที่มุ่งตอบสนองยุคของสังคมผู้สูงอายุและผู้พิการ
3. ศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้วัสดุทางการแพทย์และวิศวกรรมเนื้อเยื่อ(Biomaterial &Tissue Engineering Research & Development &Learning Center)
ศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้ทั้งสามศูนย์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อขับเคลื่อน พัฒนาประสิทธิผล เพิ่มขีดความสามารถ และกำหนดทิศทาง ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตในการปฏิบัติภารกิจในด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการโดยที่ศูนย์ดังกล่าว มีภาระกิจด้านการวิจัย พัฒนาและจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิตรวมทั้งการประเมินเทคโนโลยีและนำผลลัพธ์ที่ได้ให้บริการทางวิชาการในทุกมิติแก่ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ระบบบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่การเป็นวิทยาลัยแห่งผลลัพธ์
ยุทธศาสตร์นี้เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญและเป็นตัวสนับสนุนให้ยุทธศาสตร์ที่1 และยุทธศาสตร์ที่2สามารถดำเนินการและขับเคลื่อนได้อย่างคล่องตัวมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยเน้นในด้านของการสร้างวิทยาลัยให้เป็นสังคมของคนดีคนเก่งมีความสุขอบอุ่นและทำให้บุคลากรรู้สึกผูกพันและร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านผลงานให้เกิดขึ้นการทำให้สังคมและบรรยากาศของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็น”วิทยาลัยแห่งความเป็นนวัตกรรมและผู้ประกอบการ ”การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้เป็นแบบ E–College รวมทั้งทำให้บรรยากาศในทุกมิติเอื้อต่อการเปลี่ยนจากคณะวิชาให้เป็นเป็นวิทยาลัยแห่งผลลัพธ์
โดยทั้งสามยุทธศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เกิดผลผลิตหลัก ดังนี้คือ
1. ผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะเป็นวิศวกรชีวการแพทย์สากลที่สามารถทำงานได้ทั่วโลกและมีจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ
2. ผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ทำประโยชน์ให้กับสังคม
3. เป็นศูนย์กลางทางวิชาการด้านระบบเครื่องมือแพทย์อัฉริยะ วิศวกรรมฟื้นฟู วิศวกรรมคลินิคและ วัสดุทางการแพทย์และวิศวกรรมเนื้อเยื่อของประเทศและเชื่อมโยงสู่เครือข่ายสากล
4. วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตจะเป็นสังคมที่มีบรรยากาศเป็น”วิทยาลัยแห่งความเป็นนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการ ” และ
5. สังคมของนักศึกษาและบุคลากรวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์จะเป็นสังคมของคนดี คนเก่ง มีความสุข อบอุ่นและทำให้บุคลากรรู้สึกผูกพันและร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านผลงานให้เกิดขึ้น
ผมอยากจะบอกกับนักศึกษา ผู้ปกครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกท่านว่า “โลกยุคปัจจุบันและอนาคตข้างหน้านั้น แค่สถาบันการศึกษาของรัฐเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ได้เป็นเครื่องการันตีความสำเร็จในชีวิตแห่งอนาคตอีกต่อไป การเรียนในระดับอุดมศึกษาเพื่อต้องการให้ได้รับปริญญานั้นที่ไหนก็สามารถเรียนได้ แต่การเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะด้าน วิศวกรชีวการแพทย์สากล และจิตวิญญาณและทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ที่เพรียกพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ รวมทั้งมีความพร้อมในการเดินเข้าไปสู่มิติต่างๆของแพลตฟอร์มของโลกในศตวรรษที่ 21 นั้น เป็นที่สิ่งสำคัญมากที่สุด ที่จะต้องพิจารณา
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันและในอนาคต ทางวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้มีการปฎิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่องในทุกมิติทั้งนี้เพื่อทำให้“โลกของการเรียนรู้ โลกของการทำงานและโลกแห่งอนาคต เป็นโลกเดียวกัน” ในการตอบโจทย์และรองรับกับมิติต่างๆของแพลตฟอร์มของโลกในศตวรรษที่ 21
 วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
มีประวัติความเป็นมาจากวิสัยทัศน์และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของท่าน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ในรูปแบบของ RSU Model “Innovative Startup Entrepreneurship” By Integrative and Regenerative Competency Based Technology Transformation เน้นพัฒนาสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ก้าวนำกระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลก”
ดังนั้นในปีการศึกษา2545 มหาวิทยาลัยรังสิตจึงได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สังกัดภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ต่อมาในปีการศึกษา 2555 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรเป็นหลักสูตรวิศวกรรมศาสรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ และยังสังกัดอยู่ในภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ในแง่การพัฒนาทางหลักสูตรฯได้ทำการพัฒนาแบบรอบด้านในทุกมิติของการจัดการศึกษา การวิจัยและพัฒนา การให้บริการทางวิชาการ รวมทั้งทางด้านการบริหารจัดการ จนกระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม พศ.2559 ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ยกระดับจากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ขึ้นเป็นคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ และ ในระยะเวลา2 ปีถัดมาคือในวันที่16 กรกฎาคม 2561 มหาวิทยาลัยรังสิตได้มีคำสั่งประกาศยกระดับจากคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ จากตั้งแต่ปีการศึกษา2545 เป็นต้นมาหลักสูตรฯได้ทำการผลิตบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ออกไปรับใช้สังคม จำนวนประมาณมากกว่า 450คน ในจำนวนนี้ได้ผลิตบุคลากรให้กับกระทรวงสาธารณสุข สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 25 คน บัณฑิตที่จบออกไปจากมหาวิทยาลัยรังสิตได้ออกไปเป็นวิศวกรชีวการแพทย์ให้กับประเทศไทยได้เติมเต็มการพัฒนาวงการสาธารณสุขจนนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนชาวไทยจนได้มาตรฐานในระดับสากลรวมทั้งมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของเอเชียของประเทศไทยอีกทางหนึ่งด้วย ในโลกปัจจุบันที่เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านจากศตวรรษที่20ไปสู่ศตวรรษที่21นั้นไม่ใช่โลกใบเดิมที่เป็นLinear World ทุกอย่างมีเรื่องของความไม่แน่นอนแฝงอยู่เสมอยากต่อการทำนายรวมทั้งยากต่อการมองแนวโน้มในอนาคต โลกยุคใหม่นี้เป็นโลกที่เต็มไปด้วยชุดของภัยคุกคามชุดใหม่ชุดของข้อจำกัดชุดใหม่ชุดของกฎเกณฑ์ชุดใหม่รวมทั้งชุดของโอกาสชุดใหม่และชุดของความคาดหวังชุดใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 (COVID – 19)ที่มีการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์และแพลตฟอร์มในทุกมิติโดยที่ไม่สามารถนำเอาแพลตฟอร์มแบบเก่าของโลกมาใช้ได้อีกต่อไป ดังนั้นภารกิจที่ทางวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือการวางอนาคตใหม่ให้กับบัณฑิตทุกคนโดยการทำให้ “โลกของการเรียนรู้ โลกของการทำงานและโลกแห่งอนาคต เป็นโลกเดียวกัน” สำหรับใช้ในการแปลงเป็นขีดความสามารถชุดใหม่ เพื่อตอบโจทย์และรองรับกับมิติต่างๆของแพลตฟอร์มของโลกในศตวรรษที่21 ในหลากหลายมิติของโลกในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความสลับซับซ้อนให้ครบถ้วน สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านตั้งอยู่บนปรัชญาที่ว่า “นวัตกรรม จิตวิญญาณผู้ประกอบการ และ ความเป็นสากล ชนะทุกสิ่ง และนำมาซึ่งความสำเร็จ” โดยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ในทุกๆด้านเพื่อก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมของอาเซียน” และมีปณิธานในการ”มุ่งผลิตวิศวกรชีวการแพทย์สากลที่มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการเพื่อเติมเต็มระบบการดูแลรักษาสุขภาพให้กับสังคม”ที่อัตลักษณ์ที่สำคัญคือ “ประพฤติอย่างมีคุณธรรม คิดอย่างมีนวัตกรรม ทำด้วยจิตวิญญาณผู้ประกอบการ” เพื่อตอบสนองและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมาแล้วข้างต้นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้จัดทำและวางยุทธศาสตร์เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์สู่เป้าหมายจำนวน 3 ด้านคือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับผู้ประกอบการจริง
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วย การจัดการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์(Outcome Based Education)ด้วยการทลายกำแพงรายวิชาและทำการบูรณาการองค์ความรู้ในทุกด้านที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน มีจุดมุ่งหมายคือการผลิตบัณฑิตที่มีวิญญาณการเป็นเจ้าของหรือผู้ประกอบการ เน้นการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ ที่สำคัญคือจะผลิตบัณฑิตที่เป็นวิศวกรรมชีวการแพทย์สากล(Global Biomedical Engineers)ที่สามารถทำงานได้ทั่วโลก มีความมุ่งมั่นในการพัฒนา และการบริหารจัดการเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนชาวไทยภายใต้คุณธรรมและจริยธรรม
ระบบการศึกษาทั้งหมดต้องมีความยืดหยุ่น ตอบสนองการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเนื้อหาวิชาและการจัดการศึกษาต้องสอดคล้องกับผู้ประกอบการจริง (Real Sector Driver) และ ปลูกฝัง แนวคิด และทัศนคติในเรื่องของทักษะหรือจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Spirit)นอกจากนั้นในยุทธศาสตร์นี้ จะมุ่งขับเคลื่อนการผลิตบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่มีทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ ที่เพรียกพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ หรือการเป็นผู้ประกอบการอิสระ ซึ่งสอดคล้องกับมิติของเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่ที่จะถูกขับเคลื่อนด้วยผู้ประกอบการ ดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในหลายประเทศในย่านเอเซียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เป็นวิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมแห่งอาเซียน
ยุทธศาสตร์นี้มุ่งพัฒนาศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้จำนวน 3 ศูนย์หลักได้แก่
1. ศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้ด้านเครื่องมือแพทย์อัฉริยะ( Smart Medical Device Research Development &Learning Center) ที่ประกอบด้วยอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งทางการแพทย์( Medical IoT) ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์( Medical Artificial Intelligence (AI)) และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotic)
2. ศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมฟื้นฟู(Rehabilitation Engineering Research Development &Learning Center) ที่มุ่งตอบสนองยุคของสังคมผู้สูงอายุและผู้พิการ
3. ศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้วัสดุทางการแพทย์และวิศวกรรมเนื้อเยื่อ(Biomaterial &Tissue Engineering Research & Development &Learning Center)
ศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้ทั้งสามศูนย์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อขับเคลื่อน พัฒนาประสิทธิผล เพิ่มขีดความสามารถ และกำหนดทิศทาง ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตในการปฏิบัติภารกิจในด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการโดยที่ศูนย์ดังกล่าว มีภาระกิจด้านการวิจัย พัฒนาและจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิตรวมทั้งการประเมินเทคโนโลยีและนำผลลัพธ์ที่ได้ให้บริการทางวิชาการในทุกมิติแก่ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ระบบบริหารจัดการเพื่อมุ่งสู่การเป็นวิทยาลัยแห่งผลลัพธ์
ยุทธศาสตร์นี้เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญและเป็นตัวสนับสนุนให้ยุทธศาสตร์ที่1 และยุทธศาสตร์ที่2สามารถดำเนินการและขับเคลื่อนได้อย่างคล่องตัวมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยเน้นในด้านของการสร้างวิทยาลัยให้เป็นสังคมของคนดีคนเก่งมีความสุขอบอุ่นและทำให้บุคลากรรู้สึกผูกพันและร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านผลงานให้เกิดขึ้นการทำให้สังคมและบรรยากาศของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็น”วิทยาลัยแห่งความเป็นนวัตกรรมและผู้ประกอบการ ”การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้เป็นแบบ E–College รวมทั้งทำให้บรรยากาศในทุกมิติเอื้อต่อการเปลี่ยนจากคณะวิชาให้เป็นเป็นวิทยาลัยแห่งผลลัพธ์
โดยทั้งสามยุทธศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เกิดผลผลิตหลัก ดังนี้คือ
1. ผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะเป็นวิศวกรชีวการแพทย์สากลที่สามารถทำงานได้ทั่วโลกและมีจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ
2. ผลิตงานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ทำประโยชน์ให้กับสังคม
3. เป็นศูนย์กลางทางวิชาการด้านระบบเครื่องมือแพทย์อัฉริยะ วิศวกรรมฟื้นฟู วิศวกรรมคลินิคและ วัสดุทางการแพทย์และวิศวกรรมเนื้อเยื่อของประเทศและเชื่อมโยงสู่เครือข่ายสากล
4. วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตจะเป็นสังคมที่มีบรรยากาศเป็น”วิทยาลัยแห่งความเป็นนวัตกรรมและจิตวิญญาณผู้ประกอบการ ” และ
5. สังคมของนักศึกษาและบุคลากรวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์จะเป็นสังคมของคนดี คนเก่ง มีความสุข อบอุ่นและทำให้บุคลากรรู้สึกผูกพันและร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านผลงานให้เกิดขึ้น
ผมอยากจะบอกกับนักศึกษา ผู้ปกครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกท่านว่า “โลกยุคปัจจุบันและอนาคตข้างหน้านั้น แค่สถาบันการศึกษาของรัฐเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ได้เป็นเครื่องการันตีความสำเร็จในชีวิตแห่งอนาคตอีกต่อไป การเรียนในระดับอุดมศึกษาเพื่อต้องการให้ได้รับปริญญานั้นที่ไหนก็สามารถเรียนได้ แต่การเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะด้าน วิศวกรชีวการแพทย์สากล และจิตวิญญาณและทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ที่เพรียกพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ รวมทั้งมีความพร้อมในการเดินเข้าไปสู่มิติต่างๆของแพลตฟอร์มของโลกในศตวรรษที่ 21 นั้น เป็นที่สิ่งสำคัญมากที่สุด ที่จะต้องพิจารณา
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันและในอนาคต ทางวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้มีการปฎิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่องในทุกมิติทั้งนี้เพื่อทำให้“โลกของการเรียนรู้ โลกของการทำงานและโลกแห่งอนาคต เป็นโลกเดียวกัน” ในการตอบโจทย์และรองรับกับมิติต่างๆของแพลตฟอร์มของโลกในศตวรรษที่ 21
(รศ.นันทชัย ทองแป้น)
คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์