สารจากคณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้เกิดขึ้นมีจากวิสัยทัศน์และแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของท่าน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีกิตติคุณผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต ในรูปแบบของ RSU Model “Innovative Startup Entrepreneurship” By Integrative and Regenerative Competency Based Technology Transformation ต่อเนื่องด้วยวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนามหาวิทยลัยรังสิตของท่าน ดร.อรรถวิท อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิตที่เน้นต่อยอดไปสู่มหาวิทยาลัยที่เน้นการให้ความสำคัญกับนักศึกษาโดยถือว่า “หัวใจของ ม.รังสิต คือนักศึกษา" พร้อมเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นการเป็นขุมพลังแห่งปัญญาและการชี้นำสังคมชี้นำสังคม” โดยมีวิสัยทัศการพัฒนาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์และรองรับความท้าทายของการพัฒนาประเทศไทยในทิศทางที่เรียกว่า “The Great Transition” เพื่อรองรับและก้าวนำกระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของโลกยุคใหม่ในทุกมิติ
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้เริมต้นขึ้นในปีการศึกษา2545 โดยได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สังกัดภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ต่อมาในปีการศึกษา 2555 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรเป็นหลักสูตรวิศวกรรมศาสรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ และยังสังกัดอยู่ในภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ในแง่การพัฒนาทางหลักสูตรฯได้ทำการพัฒนาแบบรอบด้านในทุกมิติของการจัดการศึกษา การวิจัยและพัฒนา การให้บริการทางวิชาการ รวมทั้งทางด้านการบริหารจัดการ จนกระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม พศ.2559 ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้ยกระดับจากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ขึ้นเป็นคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ และ ในระยะเวลา2 ปีถัดมาคือในวันที่16 กรกฎาคม 2561 มหาวิทยาลัยรังสิตได้มีคำสั่งประกาศยกระดับจากคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
จากตั้งแต่ปีการศึกษา2545 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันวิทยาลัยฯได้ทำการผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิตรวมทั้งหลักสูตรที่เป็นลักษณะNon Degree ทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ออกไปรับใช้สังคม จำนวนประมาณมากกว่า 1,000 คน โดย ได้ออกไปเป็นวิศวกรชีวการแพทย์ให้กับประเทศไทยและนานาชาติที่เกี่ยวข้องเพื่อเติมเต็มการพัฒนาวงการสาธารณสุขจนนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนชาวไทยและของโลกจนได้มาตรฐานในระดับสากลรวมทั้งมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของเอเชียของประเทศไทยรวมทั้งการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืนของโลกที่เกรียกว่า Sustainable Development Goals อีกทางหนึ่งด้วย
โลกปัจจุบันได้เข้าสู่ศตวรรษที่21 ซึ่งได้เปลี่ยนเข้าสู่สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) และ“สังคมหลังยุคฐานความรู้” (Post Knowledge Based Society) ตามลำดับซึ่งเป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิทัศน์ในทุกมิติทั้งทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน จากเดิมที่เคยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มี “อนาคตที่ค่อนข้างชัดเจน” สู่ “อนาคตที่เป็นไปได้ในหลากหลายทางเลือก” จากนั้นเปลี่ยนมาสู่ “อนาคตที่ค่อนข้างคลุมเครือ” “อนาคตที่ไร้ความชัดเจน” หรือ “VUCA World”(V ย่อมาจาก Volatility:Uย่อมาจากUncertainty:Cย่อมาจากComplexity:และAย่อมาจากAmbiguity) และในปัจจุบันเรากำลังอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งที่เคยผันผวนมาก ๆ หมดความน่าเชื่อถือ คนเราไม่ได้รู้สึกถึงความไม่แน่นอนอีกต่อไป แต่เพิ่มระดับเป็นความวิตกกังวลหรือเรียกว่าโลกยุค BANI(B = Brittle – ความเปราะบาง A = Anxious – ความวิตกกังวล N = Nonlinear – ความไม่เป็นเส้นตรง และ I = Incomprehensible – ความกำกวม เข้าใจไม่ได้ หมายความว่าระบบต่าง ๆ ไม่ได้ซับซ้อนอีกต่อไป แต่มันกลายเป็นความไม่เป็นเส้นตรง สิ่งที่เคยคลุมเครือ กลายเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเข้าใจได้ ซึ่งระบบต่างๆในทุกมิติมีความซับซ้อนมากขึ้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นโลก “โลกที่ไม่พึงประสงค์” ซึ่งเต็มไปด้วยคลื่นวิกฤตเชิงซ้อนเป็นระลอก ๆ ตั้งแต่วิกฤตโควิด-19 วิกฤตซัพพลายเชนโลก วิกฤตพลังงาน วิกฤตอาหาร วิกฤตโลกรวน วิกฤตเงินเฟ้อ ที่อาจตามมาด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นต้น
ความท้าทายที่สำคัญที่สุดของโลกยุคปัจจุบันก็คือ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทางด้านดิจิตัลและสารสนเทศที่เป็นไปอย่างรวดเร็วจากยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าสู่ยุคเทคโนโลยีข้อมูล (Data Technology)ที่ขับเคลื่อนทุกมิติของโลกด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ประกอบกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโลกในปัจจุบันและอนาคตที่มีเป้าหมายที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน(Sustainable Development Goal)ด้วยเทคโนโลยีสีเขียวรวมทั้งการเอาชนะภาวะโลกเดือด(Global Boiling)ส่งผลให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกจะเป็นในทิศทางที่เรียกว่า Carbon Neutrality Economy นอกจากนั้นการที่โลกเราเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุทำให้แต่ละประเทศต้องใช้ทุกองคาพยพในการขับเคลื่อนโดยการเปลี่ยนผู้สูงอยุจากการเป็นภาระของสังคมให้เป็นพลังของสังคมในการร่วมกันพัฒนาประเทศ
จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆของโลกดังที่กล่าวมาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้มองเห็นว่าการรู้เท่าทันเพื่อดำรงชีวิตหรือให้สามารถแข่งขันได้ในโลกยุคศตวรรษที่21นั้นจำเป็นต้องทำความเข้าใจ “โครงสร้างเชิงระบบ” (Systemic Structure)ที่สามารถแสดงกลไกความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆอย่างเป็นระบบ และหยั่งรู้ถึง “ความคิดฐานราก” (Mental Model)ที่กำหนดโครงสร้าง กฎเกณฑ์ รูปแบบ ตัวขับเคลื่อน และผลลัพธ์ของปฏิสัมพันธ์ในเรื่องนั้น ๆ รวมถึงการพัฒนา “ปัญญา” (Wisdom)มิใช่แค่ “องค์ความรู้” (Knowledge)อย่างที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Wisdom for Sustainable Development) นั้นจำเป็นที่จะต้องเข้าใจโลกในยุคปัจจุบันอย่างกระจ่างชัด แค่ลำพังขีดความสามารถในการคาดการณ์ (Anticipative Capacity) เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ จะต้องพัฒนา “ขีดความสามารถในการปรับเปลี่ยน” (Transformative Capacity) โดยต้องเริ่มด้วย “การปรับเปลี่ยน Mindset” มากกว่าการเน้นยกระดับ Skillset หรือการพัฒนา New Skill เพียงอย่างเดียวง
สำหรับในส่วนของมิติในด้านการแพทย์ในโลกยุคศตวรรษที่21นั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์(Paradigm Shift)จากการรักษาผู้ป่วย(Patient Care:Corrective Medicine)หรือ Volume Based Medicine เป็นการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน(Healthcare หรือ Care for Citizen หรือ Preventive Medicine)หรือ Value Based Medicine ซึ่งการบริหารจัดการการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนตามกระบวนทัศน์ใหม่นั้นลำพังแค่เสาหลักเดิมคือแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรจะไม่สามารถขับเคลื่อนการดูแลรักษาสุขภาพได้แบบยั่งยืนอีกต่อไป เนื่องจากจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนภาระกิจดังกล่าวจึงส่งผลให้วิศวกรชีวการแพทย์ที่ทำงานแค่เป็นเงาอยู่เบื้องหลังของแพทย์และพยาบาลต้องเปลี่ยนบทบาทเป็นอีกเสาหลักหนึ่งที่สำคัญเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกระบวนทัศน์การดูแลรักษาสุขภาพของประชนให้สำเร็จตามเป้าหมาย
ดังนั้นการสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิตของวิทยยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของโลกและที่สำคัญก็คือการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงแบบที่เรียกว่า “The Great Transition” ดังกล่าวจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดและบทบาทของวิทยาลัยฯจากการเป็นแหล่งเรียนรู้เป็นแหล่งสร้างนวัตกรโดยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการเลือกสร้างนวัตกรรมที่ตรงกับความฝัน(Passion)ของตนเองตามความถนัดและเป็นสิ่งที่ตนเองและโลกต้องการ นอกจากนั้นต้องเปลี่ยนจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการเรียนให้มีความรู้เป็นการเรียนเพื่อรู้เท่าทันและฉลาดรู้ทางเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งการเรียนรู้เพื่อเป็นผู้นำในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงอย่างมีนวัตกรรมรวมทั้งให้ผู้เรียนเปลี่ยนกรอบความคิดละมุมมองจากการให้ความสำคัญเฉพาะกับตัวเองให้มีมุมมองใหม่ที่มองเห็นสังคมส่วนรวมสำคัญกว่าตนเอง
จากความท้าทายดังกล่าววิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต จึงได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะ5ปีต่อจากนี้(ปี2567-22571)โดยได้เน้นพัฒนาระบบการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตโดยมุ่งก้าวข้ามจากระบบการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นพื้นฐาน(Outcome Based Education:OBE)ไปสู่ระบบการศึกษาที่เน้นการชี้นำสังคมหรือเน้นผลกระทบจากผลลัพธ์การเรียนรู้ต่อสังคมในทุกระดับเป็นพื้นฐานที่เรียกว่า Impact Based Education(IBE) โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนในระบบที่เน้นการสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ต่อโลกแห่งความเป็นจริงเป็นสำคัญ(Experienced Based Learning)
ที่นี่ได้เน้นการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership Attributes)โดยจัดการศึกษาในรูปแบบที่เรียกว่า Transformative Learning ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะหลักในวิชาชีพทั้งที่เป็นองค์ความรู้และทักษะในเชิงสากลและที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศไทย โดยได้ให้ความสำคัญมากที่สุดกับการวางอนาคตใหม่ให้กับบัณฑิตทุกคนโดยการทำให้ “โลกของการเรียนรู้ โลกของการทำงานและโลกแห่งอนาคต เป็นโลกเดียวกัน” สำหรับใช้ในการแปลงเป็นขีดความสามารถชุดใหม่ เพื่อตอบโจทย์และรองรับกับมิติต่างๆของแพลตฟอร์มของโลกในศตวรรษที่21 ในหลากหลายมิติของโลกในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีความสลับซับซ้อนให้ครบถ้วน สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ในระยะ5ปีข้างหน้า(2565-2569)นั้น ตั้งอยู่บนปรัชญาที่ว่า “นวัตกรรม จิตวิญญาณผู้ประกอบการ และ ความเป็นสากล ชนะทุกสิ่ง และนำมาซึ่งความสำเร็จ” โดยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ในทุกๆด้านเพื่อก้าวสู่ “ก้าวสู่ “วิทยาลัยแห่งนวัตกรรมและผู้ประกอบการทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่เน้นการให้การศึกษาตลอดทุกช่วงชีวิต” และมีปณิธานในการ”มุ่งทำให้โลกแห่งการเรียนรู้ โลกแห่งการทำงาน และโลกแห่งอนาคตเป็นโลกเดียวกัน””ที่มีอัตลักษณ์ที่สำคัญคือ “ประพฤติอย่างมีคุณธรรม คิดอย่างมีนวัตกรรม ทำด้วยจิตวิญญาณผู้ประกอบการ” เพื่อตอบสนองและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมาแล้วข้างต้นวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้จัดทำและวาง5 ยุทธศาสตร์หลักเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ในอีก5ปีข้างหน้าดังรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความเป็นเลิศทางการศึกษาและการผลิตบัณฑิต(Excellence in Education) โดยการพัฒนาระบบการจัดการศึกษาที่สอดคล้องและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์(Paradigm Shift)จากการรักษาผู้ป่วย(Patient Care)เป็นดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน(Healthcare หรือ Care for Citizen)รวมทั้งสอดคล้องและตอบสองต่อโลกของผู้ประกอบการจริง(Real Sector) ยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วย ได้เน้นพัฒนาระบบการจัดการศึกษาและการผลิตบัณฑิตโดยมุ่งก้าวข้ามจากระบบการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นพื้นฐาน(Outcome Based Education:OBE)ไปสู่ระบบการศึกษาที่เน้นการชี้นำสังคมหรือเน้นผลกระทบจากผลลัพธ์การเรียนรู้ต่อสังคมในทุกระดับเป็นพื้นฐานที่เรียกว่า Impact Based Education(IBE) โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนในระบบที่เน้นการสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ต่อโลกแห่งความเป็นจริงเป็นสำคัญ(Experienced Based Learning) ที่สำคัญคือจะผลิตบัณฑิตที่เป็นวิศวกรรมชีวการแพทย์สากล(Global Biomedical Engineers)ที่สามารถทำงานได้ทั่วโลก มีความมุ่งมั่นในการพัฒนา และการบริหารจัดการเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนชาวไทยภายใต้คุณธรรมและจริยธรรม ระบบการศึกษาทั้งหมดต้องมีความยืดหยุ่น ตอบสนองการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเนื้อหาวิชาและการจัดการศึกษาต้องสอดคล้องกับผู้ประกอบการจริง (Real Sector Driver) และ ปลูกฝัง แนวคิด และทัศนคติในเรื่องของทักษะหรือจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Spirit)นอกจากนั้นในยุทธศาสตร์นี้ จะมุ่งขับเคลื่อนการผลิตบัณฑิตของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่มีทักษะของการเป็นผู้ประกอบการ ที่เพรียกพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ หรือการเป็นผู้ประกอบการอิสระ ซึ่งสอดคล้องกับมิติของเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่ที่จะถูกขับเคลื่อนด้วยผู้ประกอบการ ดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในหลายประเทศในย่านเอเซียและเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่สามารถนำไปใช้ทำประโยชน์ได้จริงเพื่อการพึงพาตนเองให้กับสังคมและประเทศชาติ (Innovative Research and Development)ยุทธศาสตร์นี้มุ่งในการเป็นวิทยาลัยแห่งการวิจัยและนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่อสังคมแห่งอาเซียน โดยการต่อยอดการพัฒนาศูนย์วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และเชิงพาณิชย์จำนวน 5 ศูนย์หลักได้แก่ 1. ศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้ด้านเครื่องมือแพทย์อัฉริยะ( Smart Medical Device Research Development &Learning Center) ที่ประกอบด้วยอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งทางการแพทย์( Medical IoT) ปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์( Medical Artificial Intelligence (AI)) และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical Robotic) 2. ศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้ด้านวิศวกรรมฟื้นฟู(Rehabilitation Engineering Research Development &Learning Center) ที่มุ่งตอบสนองยุคของสังคมผู้สูงอายุและผู้พิการ 3. ศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้วัสดุทางการแพทย์สีเขียวและวิศวกรรมเนื้อเยื่อ(Green Biomaterial &Tissue Engineering Research & Development &Learning Center) 4.ศูนย์นวัตกรรมและบริการงานวิศวกรรมชีวการแพทย์(Biomedical Engineering Innovation and Services Center: BIS Center) 5.BMERSU Technology Transformation Center( TTC BMERSU) ภายใต้การรับรองมาตรฐานISO17025-2017 เมื่อปี2568 ศูนย์วิจัย พัฒนาและเพื่อการเรียนรู้ทั้งห้าศูนย์นี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อขับเคลื่อน พัฒนาประสิทธิผล เพิ่มขีดความสามารถ และกำหนดทิศทาง ของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตในการปฏิบัติภารกิจในด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการให้บริการทางวิชาการโดยที่ศูนย์ดังกล่าว มีภารกิจด้านการวิจัย พัฒนา แปรรูปรวมทั้งเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนำผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยไปสู่นวัตกรรมเพื่อเชิงพาณิชย์ เพื่อบริการสังคมและเพื่อพัฒนาบัณฑิต
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการสู่องค์กรอัจฉริยะ (Smart Organization) ยุทธศาสตร์นี้มุ่งพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ทันสมัยเพื่อมุ่งสู่การเป็นวิทยาลัยแห่งผลลัพธ์ ซึ่งยุทธศาสตร์นี้เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญและเป็นตัวสนับสนุนให้ยุทธศาสตร์ที่1 และยุทธศาสตร์ที่2สามารถดำเนินการและขับเคลื่อนได้อย่างคล่องตัวมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยเน้นในด้านของการสร้างวิทยาลัยให้เป็นสังคมของคนดีคนเก่งมีความสุขอบอุ่นและทำให้บุคลากรรู้สึกผูกพันและร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านผลงานให้เกิดขึ้นการทำให้สังคมและบรรยากาศของวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็น”วิทยาลัยแห่งความเป็นนวัตกรรมและผู้ประกอบการ ”การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้เป็นแบบ E–College รวมทั้งทำให้บรรยากาศในทุกมิติเอื้อต่อการเปลี่ยนจากคณะวิชาให้เป็นเป็นวิทยาลัยแห่งผลลัพธ์
ยุทธศาสตร์ที่4 Internationalization, ยุทธศาสตร์นี้มีเป้าประสงค์(Goal)ที่สำคัญในการก้าวสู่การผลิตวิศวกรชีวการแพทย์สากล(Global Biomedical Engineers)ที่สามารถทำงานได้ทั่วโลก
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารภาพลักษณ์และการสร้างความมีชื่อเสียง (Image and Reputation Management) ยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้มีเป้าประสงค์ (Goal)ในการมุ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษาทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์สำหรับทุกช่วงวัยของชีวิตเพื่อตอบสนองการจัดการศึกษาในยุคของการเปลี่ยนแปลงในทุกมิติที่เป็นไปอย่างรวดเร็วรวมทั้งยุคของสังคมผู้สูงวัยของประเทศไทยอาเซียนและสังคมโลก
ท้ายนี้ผมอยากจะบอกกับนักศึกษา ผู้ปกครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกท่านว่า “โลกยุคปัจจุบันและอนาคตข้างหน้านั้น แค่สถาบันการศึกษาของรัฐเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ได้เป็นเครื่องการันตีความสำเร็จในชีวิตแห่งอนาคตอีกต่อไป การเรียนในระดับอุดมศึกษาเพื่อต้องการให้ได้รับปริญญานั้นที่ไหนก็สามารถเรียนได้ แต่การเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะด้าน วิศวกรชีวการแพทย์สากล และจิตวิญญาณและทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ที่เพรียกพร้อมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ รวมทั้งมีความพร้อมในการเดินเข้าไปสู่มิติต่างๆของแพลตฟอร์มของโลกในศตวรรษที่ 21 นั้น เป็นที่สิ่งสำคัญมากที่สุด ที่จะต้องพิจารณา
ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันและในอนาคต ทางวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้มีการปฎิรูปการศึกษาอย่างต่อเนื่องในทุกมิติทั้งนี้เพื่อทำให้“โลกของการเรียนรู้ โลกของการทำงานและโลกแห่งอนาคต เป็นโลกเดียวกัน” โดยมีจัดมุ่งหมายหลักคือการผลิตวิศวกรชีวการแพทย์ระดับมันสมองของประเทศและเป็นขุมพลังแห่งปัญญาและการชี้นำสังคมชี้นำสังคมทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์” เพื่อตอบโจทย์และรองรับความท้าทายของการพัฒนาประเทศไทยในทิศทางที่เรียกว่า “The Great Transition” เพื่อรองรับและก้าวนำกระแสคลื่นการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ของโลกยุคใหม่ในทุกมิติ
(รศ.นันทชัย ทองแป้น)
คณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์
วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถนนพหลโยธิน หลักหก เมือง ปทุมธานี รหัสไปรษณีย์ 12000
0-2997-2200-30 ต่อ 1428, 1486, 1452, 1506
bmersu@rsu.ac.th
© College of Biomedical Engineering Rangsit University. All Rights Reserved.